วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง...การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจิตสำนึก

หลัการเริ่มต้นในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน
                คอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่อสังคมมนุษย์เป้นอย่างมาก สามารถเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของมนุษย์ได้แทบทุกสาขาอาชีพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต้องมีการออกแบบ วางแผน เพราะคอมพิวเตอรืไม่สามารถทำงานได้โดยตรงแต่ต้องมีการใช้ชุดคำสั่งในการควบ คุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
                ดัง นั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นต้องใช้องคืประกอบของฮาร์ดแวร์ คือ เคื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก และใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ให้สามารถผลงานสร้างสรรค์ได้ตามวัตถุประสงค์
                การ ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างชิ้นงานสามารถทำได้แต่ตอนง่ายๆโดยใช้แค่เพียง คอมพิวเตอร์กับซอฟต์ประยุกต์ ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมระดับสูงเพื่อควบคุมการทำงานของอาร์ดแวร์ และใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงสามารถสร้างชิ้นงานที่ใช้งบประมาณเพียงเล็กน้อย โดยฝใช้ซอฟต์เท่าที่มีอยู่แล้ว จนถึงการลงทุนระดับสูงที่ต้องใช้งบประมาณในการซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อการพัฒนาเป้นการเฉพาะ
ผลกระทบของคอมพิวเตอร์ต่อมนุษย์
                ผล งานด้านคอมพิวเตอร์ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์ให้ก้าวไปในอนาคต อย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีการสำรวจอวกาศ การออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์โดยใช้ดปรแกรมคอมพิวเตอร์กิจกรรมความ บันเทิง เช่น เพลง การแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ นำความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสร้างบรรยากาศการนำเสนอ ทำให้ประทับใจได้อย่างยอดเยี่ยม การดูแลรักษาทางการแพทย์ ความสามารถในการรักษาก้นำความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้วินิจฉัยและ ทำการรักษาได้อย่างแม่นยำ เช่น การผ่าตัดเซลล์สมองขนาดเล็ก ดดยอาศัยการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ในการผ่าตัดก้ทำได้เป็นอย่างดี มีความปลอดภัยสูง จนทำให้งานที่มนุษย์สามารถทำได้ยากหรือไม่สามารถทำได้กลายเป็นเรื่องง่าย
                จากความสามารถในการทำงานของคอมพิวเตอรืในหลายๆด้าน ก่อให้เกิดผลกระต่อสังคมมนุษย์หลายประการ ดังนี้
                1.ผลกระทบทางด้านธุรกิจการค้า    นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูลบัญชีรายชื่อลูกค้า        การคำณวณ  การจัดทำบัญชี  และในองค์กรธุรกิจ  นัก ธุรกิจจำนวนมากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบในการทำงาน สร้างผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การสร้างแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนภูมิวงกลม  แผนภูมิแท่ง  เพื่อนำเสนอในการประชุม

            2.ผลกระทบทางด้านความบันเทิง  การสร้างภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ ฉากบู๊ ต่อสู้มีการใช้เทคนิคการนำเสนอ (Effect) ช่วยทำให้เกิดภาพสมจริง ยิ่งกว่านั้นในปัจจุบันจะพบว่ามีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้ในอุตสาหกรรม ภาพยนตร์ในอัตราส่วนที่มีมากกว่าการแสดงจริง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกสร้างยานอวกาศ  สัตว์ประหลาดจากต่างดาว  มนุษย์ต่างดาว  และ การใช้เทคนิคพิเศษต่างๆ ในภาพยนต์ทำให้ดูสมจริง น่าตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชม นอกจากนี้ยังพบว่าภาพยนตร์บางเรื่องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการสร้างผลงาน ภาพยนตร์ขึ้นมาโดยไม่มีตัวละครที่แสดงจริงเลยแม้แต่คนเดียวอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดในปัจจุบันที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก

ภาพยนต์แอนิเมชั่นที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกผลตทุกขั้นตอน

ภาพยนต์ที่ตัวละครใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกสร้างโดยมีมนุษย์ช่วยในการแสดง

เกมออนไลน์ในระบบอินเตอร์เน็ต

           3.ผลกระทบทางด้านการศึกษา  คอมพิวเตอร์สามารถช่วยนักเรียนในการสืบค้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องไม่ยากหากผู้เรียนต้องการเขียนรายงานเกี่ยวกับอวกาศ  ผู้เรียนสามารถเข้าไปที่สารานุกรมออนไลน์ (Wikipedia) หรือตั้งหัวเรื่อง ใช้คำค้นหาในอินเตอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่จะนำเข้ามาใช้ในการเขียนรายงาน นอกจากนี้ยังใช้โปรแกรมประมวลคำในการทำงาน พิมมพ์ข้อความ สามารถถแทรกรูปภาพจัดภาพอย่างสวยงามเพื่อพิมพ์ออกมาเป็นรายงาน หรือจะใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์แล้วส่งให้ครูทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่สะดวกรวดเร็ว ประหยัดกระดาษและหมึกพิมพ์ เป็นระบบที่ไม่สูญหายสามารถจัดเก็บใด้ไม่เปลืองเนื้อที่อีกด้วย

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์

บทเรียนคอมพิวเตอรืช่วยสอนในระบบออนไลน์
           4.ผลกระทบทางด้านการแพทย์  โปรแกรมทางด้านคอมพิวเตอร์ได้สร้างความสะดวกกับสถานพยาบาล โรงพยาบาล  งานการเก็บประวัติการรักษาของผู้ป่วยในรูปแบบฐานข้อมูล  เก็บประวัติการใช้ยา นอกจากงานทางด้านฐานข้อมูลแล้ว  คอมพิวเตอร์ยังถูกนำมาใช้ในงานด้านการวินิจฉัย และช่วยในการรักษา หากไม่มีคอมพิวเตอร์แล้ว  โรคบางโรคอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง หรืออาจไม่สามารถตรวจพบได้เลยก็เป็นได้

โปรแกรมสแกนภาพตัดสมองในการวินิจฉัยทางการแพทย์

ปัจจัยสำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน
                จาก หลัการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาจะต้องวิเคราะห์ปัจจัยด้านข้อมูลและความสามารถของฮาร์ดแวร์หรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างชิ้นงาน เพื่อให้เหมาะสมอยู่ในสภาพที่สามารถจัดหาและรองรับการสร้างชิ้นงานที่คิดค้น ขึ้น ดังนี้
                1.อุปรณ์คอพิวเตอร์  ซึ่ง เป็นฮาร์ดแวร์หลักที่ใช้ในการทำงานเพื่อสร้างงชิ้นงาน การสร้างชิ้นงานจึงต้องคำนึงถึงส่วนปรปะกอบของอุปกรณ์ต่อพ่วงหรืออุปกรร์ที่ เชื่อมต่อทั้งภายนอกและภายใน
                 - การ์ดเสียง (Sound) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนในการสร้างชิ้นงานที่ต้องใช้เสียง เช่น การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                - การ์ดจอ (VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนในการสร้างงานที่เกี่ยวกับภาพกราฟิก เช่น งานนำเสนอที่ใช้ภาพเคลื่อนไหว งานวีดีทัศน์ การสร้างงานแอนิเมชั่น 2 มิติ
                - ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าที่เชื่อมต่อภายนอก มีความสำคัญต่อการสร้างชิ้นงาน ในกรณีที่ต้องการบันทึกเสียง เช่น การผลิตแอนิเมชั่น การบันทึกบทสนทนาของตัวละคร
                - ลำโพง (Speaker)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลของเสียง ซึ่งเป็นเสียงที่ต้องอัดผ่านคอมพิวเตอร์หรือเสียงดนตรี เสียงบรรยายต่างๆ
                - เมาส์ปากกา (PenMouse)  เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวกับงานกราฟิกประเภท 2 มิติ เช่น การสร้างหรือวาดรูปภาพประกอบหนังสืออิเล็กทอนิกส์
                - หน่วยความจำหลัก (RAM)  การเพิ่มหน่วยความมจำหลักให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อการรองรับการสร้างชิ้นงาน และเหมาะสมกับการรองรับของแผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์
                - เครื่องพิมพ์ (Printer)  เป็น อุปกรณ์เพื่อใช้สนองต่อชิ้นงานที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น การสร้างโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์ การออกแบบจุลสาร วารสารต่างๆ
2.โปรแกรมหรืซอฟต์แวร์ เป็น องค์ประกอบที่สำคัญต้องมีความสัมพันธ์กับชิ้นงานที่จะสร้างสรรค์ขึ้นและ สัมพันธ์กับอุปกรณ์เชื่อมต่อในคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์สามารถแบ่งตามลักษณะงานได้หลายประเภท ดังนี้
2.1 การสร้งงานกราฟิก  ใน การสร้างชิ้นงานที่ต้องการมีการวาดร่างหรือการตกแต่ง ตัดต่อรูปภาพหรือการขึ้นรูปต่างๆซึ่งโปรแกรมงานด้นกราฟิกที่ต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์ของชิ้นงานที่ออกแบบด้วย ดังตัวอย่าง
- อะโดบีโฟโตช็อป (Adobe Photoshop)
- กิมป์ (Gimp)
- อะโดบีอิลลัสเทรเตอร์ (Adobe Illustrator)
- อิงก์แคป (Inkscap)
- กูเกิลสเก้ตช์อัป (Google SketchUp)
- อะโดบีแฟลช (Adobe Flash)
2.2 การสร้างหนังสืออิเล็กทอนิกส์  ปัจจุบัน การสร้างหนังสืออิเล็กนิกส์สามารถทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ประหยัดเวลาเป็นอย่างมาก โดยใช้โปรแกรมสำหรับสร้างหนังสืออิเล็กทอนิกส์สำเร็จรูป ดังตัวอย่าง
- ฟลิปอัลบัม (FlipAlblum)
- ไอเลิฟลิบรารี (Ilovelibrary)                                             
2.3 การสร้างงานตัดต่อวีดีโอ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่นิยมใช้ มีดังนี้
- อะโดบีพรีเมียร์ (Adobe Premire)
- มูฟวีเมกเกอร์ (Movie Marker)
- แวกซ์ (Wax)
2.4 การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และสื่อมัลติมีเดีย โปรแกรมที่ใช้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและสื่อมัลติมีเดีย มีดังนี้
- สวีชแมกช์ (SWiSH Max)
- อะโดบีแคปทิเวต (Adobe Captivate)
2.5 การสร้างงานด้านเสียง  โปรแกรมที่ใช้สร้างชิ้นงานด้านเสียง มีดังนี้
- ออดาซิตี (Audacity)
- แอลเอ็มเอส (LMMS : Linux Miltimedia Studio )
2.6 การเขียนโปรแกรม  โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม มีดังนี้
- วิชวลเบสิก (Visual Basic)
- เดฟซีพลัสพลัส (Dev C ++)

การศึกษาผลกระทบของชิ้นงานที่สร้างขึ้น
                  ใน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานนั้น ผู้สร้างชิ้นงานจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเสมอ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการสร้างชิ้นงานนี้จะพบว่ามีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตถุปประสงค์นี้จะเกิดจากการที่ผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานได้พบกับปัญหา หรือเห็นปัญหาที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน ปัญหาจากการเรียนที่โรงเรียน ปัญหาของหน่วยงาน ปัญหาในชุมชน นำมาเป็นแรงบันดาลใจในการชิ้นงาน นอกจากการสร้างชิ้นงานเพื่อแก้ปัญหาแล้ว วัตถุประสงค์ในการสร้างชิ้นงานเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้งาน หรือแนวทางของการสร้างชิ้นงานจะเกิดจากการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่ยังไม่พบ หรือยังไม่มีในวงการด้านนั้น เป็นการสร้างเพื่อเพิ่มเติมจากสิ่งที่มีอยู่เดิม
                   เนื่อง จากชิ้นงานที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์มีลักษณะโดดเด่นกว่าผลงานในสาขาอื่นๆ ในด้านของการเผยแพร่ และการกระจาย โดยชิ้นงานที่ผลิตมักจะอยู่ในรูปซอฟฟต์แวร์ หรือโปรแกรมประยุกต์หรือซอฟต์แวร์ร่วมกับฮาร์ดแวร์ จึงทำให้สามารถเผยแพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเองและระบบอินเตอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงบุคคล หรือกลุ่มคนได้ครั้งละจำนวนมาก รวดเร็ว รอบโลก ชิ้นงานที่ผลิตขึ้นจึงมีโอกาสกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้เสมอ ซึ่งผลกระทบมี 2 ทิศทาง ดังนี้
                     1.ผลกระทบทางด้านบวก  เป็นผลกระทบที่ผู้สร้างชิ้นงานเองได้คาดหวังให้เกิดขึ้น หรือ ผู้ใช้นำไปใช้ในแนวทางที่สร้างสรรค์ ในบางครั้งจะพบว่าชิ้นงานที่สร้างขึ้นสามารถสร้างประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ของผู้สร้างแล้วแต่ผู้ใช้ยังสามารภนำชิ้นงานไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหา อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                         2.ผลกระทบทางสังคม  เป็นผลกระทบที่ผู้ผลิตไม่อยากให้เกิด ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจเป็นผลกรระทบของการเขียนโปรแกรมที่สามารถแก้ไขได้ เช่นการเกิดบัก (Bug) หรือข้อผิดพลาด แต่ในบางครั้งชิ้นงานที่ผลิตขึ้นถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายในวง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์
                 1.พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 
                     เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ซอฟต์แวร์ที่นำมาผลิตชิ้นงาน จนถึงการคุ้มครองชิ้นงานที่ผลิตขึ้นด้วย ในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2537 มีส่วนเกี่ยวข้องกับชิ้นงาน
                  2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
                      เป็น กฎหมายที่ทุกคนควรคำนึงถึง เนื่องจากการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์ ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งผลกระทบทางด้านลบ อาจเป็นการทำจริยรรมในการใช้โดยทั่วไป

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 1


การติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
 
1.ความหมายของอินเทอร์เน็ต

                       
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
                         อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
 
2.ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
 
                           อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503 อินเทอร์เน็ต ในยุคแรกๆ เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
                       ในปี พ.ศ.2512 ARPAnet ได้เปลี่ยนชื่อเป็น DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง เช่น ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.2518 จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลองเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง

                        พ.ศ.2526 DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal)มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ดังนั้น TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
                         พ.ศ.2529 ได้มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) ขึ้น เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย โดยให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.edtechno.com จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บทั้งหมด เป็นต้น
                          พ.ศ.2533 DARPA ได้ให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐาน เหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป ต่อมาอาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้โดยเรียกเครือข่ายว่าอินเทอร์เน็ตโดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกาและปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก (http://www.thaiall.com)
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
                            พ.ศ. 2534 เป็นปีที่มีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ของ บริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้ขอเชื่อมต่อผ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรียกเครือข่ายนี้ว่า"ไทยเน็ต" (THAInet) นับเป็นเกตเวย์(Gateway) แรกสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากลของประเทศไทย
                            ในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC: National Electronic and Computer Technology Centre) ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง เรียกว่า เครือข่าย"ไทยสาร" ต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ด้วยนับเป็นเกตเวย์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งที่สอง (จักรพงษ์ เจือจันทร์.2543)
 
3.พื้นฐานการเกิดของอินเทอร์เน็ต
 
                        จุดกำเนิดของอินเตอร์เน็ตเริ่มในทศวรรษที่ 1960 ในสมัยนั้นมีการใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe) อย่างแพร่หลาย ส่วนคอมพิวเตอร์แบบพีซียังไม่มี ความคิดที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกลนั้นเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น และเนื่องจากยุคนั้นเป็นยุคของสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตด้วย ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐจึงเห็นว่าการติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างคอมพิวเตอร์ถือได้ว่ามีประโยชน์ด้านทหาร
                             เพื่อให้ความคิดนี้เป็นจริง ดังนั้นในปี ค.ศ 1968 หน่วยงานที่ชื่ออาร์พา (Advance Research Project Agency , ARPA ) ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (U.S Department of Defense, DOD) จึงมีโครงการที่จะทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ในช่วงแรกทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่ด้วยกันคือ
  • สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SRI International)
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส (University of California, Los Angeles(UCLA))
  • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา(University of California, Santa Barbara(UCSB))
  • มหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah)

                              คอมพิวเตอร์จากสถานที่ทั้งสี่เริ่มสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1969  การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่เป็นการเชื่อมต่อในลักษณะเป็นเน็ตเวิร์ก เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อในระยะไกล จึงเป็น WAN (Wide area network) เน็ตเวิร์กที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) และอาร์พาเน็ตเป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตในเวลาต่อมา การติดต่อสื่อสารที่นิยมใช้กันในช่วงนั้นของอาร์พาเน็ตคือ จดหมายอิเล็กทรอนิกหรืออีเมล์ การสนทนาแบบออนไลน์ และ การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ จุดเด่นประการหนึ่งของอาร์พาเน็ตคือ เป็นเน็ตเวิร์กแบบไม่มีศูนย์กลาง หรือเป็นเน็ตเวิร์กแบบกระจาย เน็ตเวิร์กแบบมีศูนย์กลางนั้นเมื่อไรก็ตามที่ศูนย์กลางเกิดเสียหรือถูกทำลายจะทำให้ทั้งเน็ตเวิร์กทำงานไม่ได้ ส่วนเน็ตเวิร์กที่ไม่มีศูนย์กลางนั้นถ้าส่วนใดส่วนเกิดเสียขึ้นมา ส่วนที่เหลือยังคงสามารถทำงานต่อได้คือ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

4.ระบบชื่อโดเมน ( Domain Name System )
 
                               ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS) เป็นระบบการตั้งชื่อให้กับ "ทรัพยากรเครือข่ายแต่ที่พบโดยทั่วไปคือการตั้งชื่อโฮสต์เพื่อใช้แทนไอพีแอดเดรส ดีเอ็นเอสเป็นระบบชื่อที่มีฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันใดควบคุมหรือมีฐานข้อมูลเดี่ยวครอบคลุมทั้งอินเทอร์เน็ต แต่ละเครือข่ายในอินเทอร์เน็ตจะมีดีเอ็นเอสเซอร์ฟเวอร์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลอย่างอิสระ เพื่อให้ไคลเอ็นต์ขอบริการสอบถามข้อมูลตามแบบโปรโตคอลที่กำหนด ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกัน
                               เมื่อใช้ชื่อแทนไอพีแอดเดรสสำหรับเรียกใช้บริการหนึ่งๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นจะใช้กลไกของระบบเพื่อแปลงชื่อไปเป็นไอพีแอดเดรส และนำไอพีแอดเดรสนั้นติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไปการใช้งานในยุคต้นในยุคแรกเริ่มของการใช้ชื่อทดแทนแอดเดรส ระบบฐานข้อมูลซึ่งเก็บชื่อเครื่องที่สมนัยกับไอพีแอดเดรสเป็นฐานข้อมูลเดี่ยว ฐานข้อมูลนี้ดูแลโดยศูนย์สารสนเทศเครือข่ายสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute's Network Information Center หรือ SRI-NIC) เครือข่ายใดที่ต้องการใช้ฐานข้อมูลจะต้องใช้โปรโตคอลถ่ายโอนแฟ้ม หรือ เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol) เพื่อนำรายชื่อและแอดเดรสไปใช้งาน ฐานข้อมูลกลางจะปรับปรุงใหม่อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้แต่ละเครือข่ายถ่ายโอน ข้อมูลล่าสุดไปใช้ รูปแบบเช่นนี้เป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่เป็นปัญหาในยุคต้นเนื่องจากจำนวนเครือ ข่ายและคอมพิวเตอร์จำกัดอยู่ในหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา แต่เมื่อจำนวนเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น กระบวนการถ่ายโอนเริ่มพบปัญหาอุปสรรคได้แก่
    * การปรับปรุงฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ไม่ตอบสนองกับอัตราการเพิ่มของคอมพิวเตอร์ได้อย่างทันท่วงที
    * ฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่มากขึ้น การถ่ายโอนใช้เวลาและใช้ช่องสัญญาณมากทำให้กระทบต่อการใช้งานอื่น
    * ฐานข้อมูลเดิมเก็บชื่อเป็นระดับเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาการจัดการเมื่อมีผู้ขอตั้งชื่อเหมือนกัน
  ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดในการปรับปรุงระบบให้บริการชื่อเครื่องใหม่ ระบบการแปลงชื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบอัตโนมัติที่ใช้วิธีการกระจายฐานข้อมูล มีโปรโตคอลสำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูลนั้นและปรับปรุงข้อมูลโดยอัตโนมัติ รูปแบบการตั้งชื่อมีโครงสร้างแบบลำดับชั้นป้องกันการตั้งชื่อซ้ำซ้อน ระบบดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของโปรโตคอล ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name System) หรือเรียกว่า ระบบชื่อโดเมน
รูปแบบการเขียน
  การเขียนชื่อ คอมพิวเตอร์ประจำโดเมนใดๆจะเริ่มต้นจากชื่อเครื่องตามด้วยชื่อโดเมนย่อยที่ คั่นด้วยจุดและปิดท้ายด้วยจุดซึ่งแสดงถึงจุดบนสุดหรือเรียกว่า ราก  (root)
เครื่องหมายจุดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ระบุว่าชื่อได้สิ้นสุดโดยไม่มีชื่อต่อท้ายอีก และเรียกชื่อชื่อนั้นว่าเป็นชื่อสัมบูรณ์ (absolute name) ทั้งนี้เพื่อป้องกันความสับสนกับชื่อที่เขียนแบบสัมพัทธ์
   รูปแบบการ เขียนชื่อคอมพิวเตอร์ที่ระบุทั้งชื่อเครื่องและชื่อโดเมนที่สังกัดเต็มรูป แบบโดยปิดท้ายด้วยเครื่องหมายจุดเป็นรูปแบบการเขียนที่สมบูรณ์ และเรียกชื่อที่เขียนในลักษณะนี้ว่า FQDN (Fully Qualified Domain Name)
 ประโยชน์จาก การใช้ชื่อตามโครงสร้างแบบนี้คือทำให้ชื่อในโดเมนหนึ่งจะมีได้เพียงชื่อ เดียวโดยไม่ซ้ำซ้อนกันไม่ว่าอินเทอร์เน็ตจะมีขนาดใหญ่เพียงใดหรือมีจำนวนโด เมนย่อยเท่าใด เพราะเครื่องที่อยู่ต่างโดเมนถึงแม้จะมีชื่อเครื่องหรือชื่อโดเมนย่อยเหมือน กัน หากแต่การสังกัดอยู่ในชื่อโดเมนระดับบนที่ต่างกันย่อมมี FQDN ที่แตกต่างกันและถือว่ามีชื่อต่างกัน
      ตัวอย่างเช่น
   www.name.co.th  www.name.com
ระบบชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ต
               ระบบชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ตมีการจัดแบ่งตามโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical) และใช้ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed) ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายช่วยให้บริการชื่อโดเมนใน องค์กรใดๆที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบชื่อโดเมนไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาสำเนาข้อมูลชื่อโดเมนที่มีอยู่ทั้งหมด หากแต่ระบบสามารถเชื่อมถึงกันทางเครือข่ายเพื่อสืบค้นและแลกเปลี่ยนข้อมูลรวมทั้งใช้ฐานข้อมูลร่วมกันโดยอัตโนมัติ โครงสร้างตามลำดับชั้นของระบบชื่อโดเมนเปรียบเทียบได้กับการแบ่งองค์กรเช่นภายในบริษัทอาจแบ่งออกเป็นแผนกย่อย แต่ละแผนกอาจแบ่งย่อยเป็นฝ่าย หรืออาจเปรียบเทียบกับการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ออกเป็นประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล เป็นต้น
      อินเทอร์เน็ตดีเอ็นเอสมีโครงสร้างตามลำดับชั้นแบบโครงสร้างต้นไม้กลับหัวดังรูปที่ 1 โครงสร้างอยู่ภายใต้ต้นไม้รากเดี่ยวและแตกกิ่งก้านมาเป็นลำดับ ส่วนปลายสุดเป็นจุดที่ไม่สามารถแตกกิ่งออกไปได้อีกจะเป็น ชื่อเครื่อง
      โครงสร้างต้นไม้ทั้งโครงสร้างเรียกโดยทั่วไปว่า โดเมนเนมสเปซ (domain name space) หรือเรียกสั้นๆว่า เนมสเปซ หรือหากต้องการกล่าวเจาะจงถึงอินเทอร์เน็ตก็เรียกว่า อินเทอร์เน็ตเนมสเปซ หากพิจารณารูปที่ 1 อินเทอร์เน็ตเนมสเปซมี 3 กลุ่มใหญ่ ความหมายของแต่ละกลุ่มจะกล่าวโดยละเอียดภายหลัง
รูปที่ 1 โครงสร้างลำดับชั้นของดีเอ็นเอส
ชื่อโดเมน
      แต่ละโหนดในเนมสเปซมีชื่อกำกับเพื่อใช้เรียกยกเว้น ราก (root)  ซึ่งอยู่บนสุดไม่ต้องมีชื่อกำกับ โหนดหนึ่งๆอาจแตกออกเป็นโหนดย่อยระดับล่างลงไปได้หลายชั้น ชื่อโดเมน (domain name) คือชื่อที่กำกับประจำโหนดและเรียกชื่อโดยไล่ลำดับจากโหนดนั้นตามเส้นทางขึ้นไปยังราก   ในโดเมนหนึ่งหนึ่งอาจมี โดเมนย่อย (sub domain) ลงไปได้หลายระดับชั้น เช่น
      ac.th และ or.th   เป็นโดเมนย่อยของโดเมน .th
      agr.ku.ac.th, eng.ku.ac.th และ sci.ku.ac.th เป็นโดเมนย่อยของ ku.ac.th
      engr.exam.com และ sales.exam.com เป็นโดเมนย่อยของ exam.com
      รูปที่ 2 โดเมนย่อย
      จำนวนโดเมนย่อยหรือระดับชั้นในโดเมนหนึ่งๆขึ้นอยู่กับผู้ดูแลระบบจะกำหนด จำนวนระดับชั้นของชื่อโดเมนไม่มีความสัมพันธ์กับไอพีแอดเดรสแต่อย่างใด ชื่อโดเมนทางซ้ายจะบ่งบอกชื่อเครื่องที่เจาะจงมากขึ้น  ชื่อโดเมนทางขวาจึงบ่งถึงโดเมนที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ลักษณะนี้ต่างจากไอพีแอดเดรสที่ตัวเลขทางขวาบ่งบอกโฮสต์ที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าทางซ้าย ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นชื่อโดเมนที่มีจำนวนโดเมนย่อยแตกต่างกัน
โดเมนสัมบูรณ์และโดเมนสัมพัทธ์
      ชื่อโดเมนที่เขียนตามเส้นทางจากโหนดหนึ่งๆไปสิ้นสุดที่ราก เรียกว่า ชื่อโดเมนสัมบูรณ์ (Absolute domain name) ชื่อโดเมนที่เขียนเพียงบางส่วนเรียกว่า ชื่อโดเมนสัมพัทธ์   (Relative domain name)
      ชื่อโดเมนสัมบูรณ์โดยปกติแล้วจะปิดท้ายด้วยจุดเพื่อแสดงว่าสิ้นสุดที่ราก และเพื่อให้แยกแยะความแตกต่างจากโดเมนสัมพัทธ์ได้ เช่น tpt.nectec.or.th. แต่ในทางปฏิบัติมักละเครื่องหมายจุดไว้เพราะชื่อโดเมนมักแสดงถึงโดเมนสัมบูรณ์อยู่ในตัวเอง บางโปรแกรมประยุกต์เช่นโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้จุดปิดท้ายโดเมนแม้ว่าจะใช้ชื่อนั้นในฐานะของโดเมนสัมบูรณ์ก็ตาม
      ดีเอ็นเอสมีชื่อโดเมนสัมพัทธ์เพื่อความสะดวกในการอ้างอิง ดีเอ็นเอสถือว่าชื่อโดเมนที่ไม่ลงท้ายด้วยจุดคือโดเมนสัมพัทธ์และจะสร้างชื่อโดเมนสัมบูรณ์ให้ เช่นผู้ใช้อาจพิมพ์เพียง tpt และให้ดีเอ็นเอสเติมชื่อโดเมน nectec.or.th. ต่อท้าย ก่อนดำเนินการเช่นนี้ได้ดีเอ็นเอสจำเป็นต้องทราบถึงชื่อโดเมนประจำเครือข่ายก่อน วิธีการกำหนดชื่อโดเมนประจำเครือข่ายจะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ ตัวอย่างเช่นในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์กำหนดชื่อโดเมนประจำเครือข่ายและข้อมูลอื่นไว้ในแฟ้ม /etc/resolv.conf
โดเมนระดับบนสุด
      โดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domains) หรือ TLDs หมายถึงชื่อโดเมนที่ระบุถึงกลุ่มโดเมนระดับบน กลุ่มโดเมนเหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้สังกัดใด โดเมนระดับบนสุดในปัจจุบันจัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
      โดเมนทั่วไป (generic domain)
    โดเมนประเภทนี้เป็นชื่อโดเมนระดับบนสุดและมักเรียกว่า โดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไป (Generic Top Level Domains : gTLDs) ชื่อโดเมนประเภทนี้เป็นกลุ่มโดเมนขององค์กร ซึ่งในระยะแรกเริ่มมี 7 หมวดได้แก่ .com, .edu, .gov, .int, .mil, .net และ .org ความหมายและตัวอย่างของแต่ละชื่อโดเมนแสดงได้ดังตารางที่ 1
     ตารางที่ 1 โดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไปดั้งเดิมในอินเทอร์เน็ต
โดเมน
    กลุ่ม    ตัวอย่าง
.com    องค์กรธุรกิจการค้า (Commercial organizations)    sun.com, microsoft.com
.edu    สถาบันการศึกษา (Educational organizations)    mit.edu, standford.edu
.gov    หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐ (Government organizations)    nasa.gov, doc.gov
.int    องค์กรนานาชาติ (International organizations)    nato.int, sadc.int
.mil    หน่วยงานทางทหารของสหรัฐ (Military organizations)    army.mil, navy.mil
.net    หน่วยงานเครือข่าย (Networking organizations)    nyser.net, sura.net
.org    องค์กรจัดตั้ง (Organizations) เช่นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร หรือหน่วยงานที่ไม่เข้ากลุ่มอื่น    mitre.org, acm.org
   จากความต้องการใช้ชื่อโดเมนที่มีเพิ่มมากขึ้น เมื่อเดือนกันยายน 2543 ไอแคนซึ่งเป็นองค์กรบริหารระบบชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ตได้ประกาศใช้ชื่อโดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไปใหม่อีก 7 หมวด ได้แก่ .aero, .biz, .coop, .info, .museum,  .name และ .pro  รายละเอียดการใช้แต่ละชื่อโดเมนแสดงไว้ในตารางที่
      ตารางที่  2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม
โดเมน    กลุ่ม    ตัวอย่าง
.aero    การอากาศยาน    ชื่อโดเมนเฉพาะองค์กรด้านการขนส่งทางอากาศยาน โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ หรือ Societe Internationale de Telecommunications Aeronautiques (SITA) เป็นผู้บริหารนโยบาย
.biz    องค์กรธุรกิจ    ชื่อโดเมนสำหรับการธุรกิจ แต่ต่างจาก .com ในแง่ที่ผู้จดทะเบียนต้องประกอบการธุรกิจจดทะเบียนเท่านั้น โดเมนนี้จึงไม่อนุญาตให้จดทะเบียนโดยบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจ
.coop    สหกรณ์    ชื่อโดเมนเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการสหกรณ์ โดยสหพันธ์สหกรณ์นานาชาติ หรือ International Cooperative Alliance (ICA) เป็นผู้บริหารนโยบาย
.info    ข้อมูลข่าวสาร    ชื่อโดเมนสำหรับจดทะเบียนทั่วไป ถึงแม้ว่าชื่อโดเมนจะสื่อถึง บริการข้อมูลข่าวสารแต่ในทางปฏิบัติแล้วจะเปิดให้จดทะเบียนโดยไม่มีข้อจำกัด ทั้งนี้เพื่อเป็นการแข่งขันกับโดเมนในกลุ่ม .com, .net และ .org
.museum    พิพิธภัณฑ์    ชื่อโดเมนสำหรับพิพิธภัณฑ์ การจดทะเบียนจะอนุญาตเฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของสภาพิพิธภัณฑ์นานาชาติ หรือ International Council of Museums (ICOM)
.name    บุคคล      ชื่อโดเมนสำหรับบุคคลทั่วไป การจดทะเบียนจะต้องจดชื่อระดับที่สามในรูปแบบ firstname.lastname ตัวอย่างเช่น john.smith.name การจดทะเบียนจะไม่มีการครอบครองชื่อโดเมนระดับที่สอง และให้บริการจดทะเบียนตามลำดับการร้องขอ
.pro    ผู้ประกอบ
วิชาชีพ    ชื่อโดเมนผู้ประกอบวิชาชีพ (professionals) เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่าผู้จดทะเบียนอยู่ในสายวิชาชีพนั้นอย่างแท้จริง นโยบายการบริหารชื่อโดเมนจะดำเนินการโดยสมาคมหรือสหพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
      โดเมนรหัสประเทศ (country code domain)
      ชื่อโดเมนในกลุ่มนี้จะใช้รหัสประเทศที่ประกอบด้วยอักขระสองตัวตามมาตรฐาน ISO 3166-1 ชื่อโดเมนประเภทนี้จึงเรียกว่า ชื่อโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (Country Code Top Level Domains) หรือเขียนโดยย่อว่า ccTLDs  ในปัจจุบันมี ccTLDs รวมทั้งสิ้น 244 ชื่อ ในจำนวนนี้มีเพียงสหราชอาณาจักรที่มิได้ใช้ชื่อย่อตามมาตรฐาน ISO 3166-1 กล่าวคือในมาตรฐาน ISO 3166-1 ใช้ gb แต่ชื่อโดเมนที่ใช้คือ .uk ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างชื่อโดเมนระดับบนสุดประจำประเทศ
ตารางที่ 3 ตัวอย่างชื่อโดเมนประจำประเทศ
โดเมน    ชื่อประเทศ    โดเมน    ชื่อประเทศ
.at    ออสเตรีย    .es    สเปน
.au    ออสเตรเลีย    .fr    ฝรั่งเศส
.ca    แคนาดา    .jp    ญี่ปุ่น
.ch    สวิตเซอร์แลนด์    .kr    เกาหลี
.de    เยอรมัน    .uk    สหราชอาณาจักร
                    ชื่อโดเมนหนึ่งๆไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์กับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ ชื่อโดเมนระดับบนสุดเช่น .th ถึงแม้จะบ่งบอกถึงประเทศไทย แต่เครื่องที่ใช้ชื่อโดเมน .th อาจตั้งอยู่ในประเทศใดๆก็ได้ นอกจากนี้เครื่องหนึ่งๆยังสามารถจดทะเบียนได้มากกว่าหนึ่งชื่อ ชื่อโดเมนจึงบอกเพียงว่าเครื่องนั้นจดทะเบียนในสังกัดของชื่อโดเมนที่ระบุเท่านั้น
      โดเมนอาร์พา
      โปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมต้องการตรวจสอบว่าไอพีที่ใช้งานมีชื่อใดหรือผู้ใช้อาจต้องการทราบชื่อโฮสต์จากไอพีแอดเดรสที่มีอยู่ การแปลงไอพีแอดเดรสกลับไปเป็นชื่อจึงเป็นอีกบริการหนึ่งที่ดีเอ็นเอสต้องจัดเตรียมไว้
      ในเนมสเปซที่ กล่าวมาตั้งแต่ต้น ทราบว่าแต่ละโหนดมีชื่อกำกับเพื่อใช้ค้นหาไอพีแอดเดรสหรือใช้ชื่อเป็นดรรชนี ค้นหาไอพีแอดเดรส แต่หากต้องสืบค้นชื่อในเนมสเปซโดยไม่มีดรรชนีย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะจะต้องเริ่มค้นจากรากเข้าไปในทุกจุดจนกว่าจะพบชื่อที่ตรงกับไอพีแอดเด รสที่ต้องการ วิธีช่วยค้นจึงต้องจำเป็นต้องจัดให้มีดรรชนีไอพีแอดเดรสในทำนองเดียวกับ ดรรชนีโดเมน วิธีการนี้ทำได้โดยการปรับแปลงไอพีแอดเดรสที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นเสมือน ชื่อโดเมนตามลำดับชั้นและวางตำแหน่งของไอพีแอดเดรสนี้ให้อยู่ภายใต้โดเมนที่ จัดขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งได้แก่โดเมน .in-addr.arpa
      เนื่องจากไอพีแอดเดรสแบ่งออกเป็น 4 หลัก แต่ละหลักมีได้ 256 ค่า จาก 0 ถึง 255 โดเมนที่อยู่ภายใต้โดเมน .in-addr.arpa จึงจัดให้มีได้ 256 โดเมนย่อยจาก 0 ถึง 255  โดเมนย่อยระดับแรกจะสมนัยกับอ็อกเท็ต แรกของไอพีแอดเดรส แต่ละโดเมนที่เป็นตัวเลขต่างก็มีโดเมนย่อยลงไปอีก 256 โดเมนย่อยและสมนัยกับอ็อกเท็ตที่สองของไอพีแอดเดรส จนกระทั่งถึงโดเมนย่อยสุดท้ายที่สมนัยกับอ็อกเท็ตที่สี่ของไอพีแอดเดรสและมีตัวชี้ไปยังชื่อโดเมนที่ต้องการ
      ชื่อโดเมนจากซ้ายไปขวาแสดงความเจาะจงมากไปสู่ความเจาะจงน้อย ซึ่งกลับทิศทางกับไอพีแอดเดรสที่เขียนแสดงความเจาะจงจากน้อยไปมาก การเขียนโดเมนของไอพีแอดเดรสจึงสลับลำดับกันเพื่อให้เข้ากับหลักการของชื่อโดเมน เช่น 158.108.2.71 เป็นไอพีแอดเดรสของเครื่อง nontri.ku.ac.th จะมีชื่อโดเมนประจำคือ 71.2.108.158.in-addr.arpa การสืบค้นชื่อจากแอดเดรส 158.108.2.71 จะต้องเริ่มจาก .arpa, .in-addr และ .158, .108, .2 และ .71 ตามลำดับ แอดเดรสลักษณะนี้จึงเรียกว่า แอดเดรสผกผัน (Reverse address) ซึ่งสื่อถึงแอดเดรสที่เขียนกลับทิศกับไอพีแอดเดรสตามแบบปกติ (Forward address) โครงสร้างชื่อโดเมน .in-addr.arpa มีลักษณะดังรูปที่ 3
การบริหารระบบโดเมนและโซน
      โครงสร้างต้นไม้กลับหัวที่แสดงถึงระบบชื่อโดเมนเช่นในรูปที่ 3 เป็นเพียงรูปเชิงนามธรรมที่อธิบายถึงภาพโดยรวมของดีเอ็นเอสในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตามที่กล่าวไว้แล้วว่าไม่มีหน่วยงานใดที่มีฐานข้อมูลคลุมทั้งโครงสร้าง หากแต่ใช้การ มอบอำนาจการดูแลโดเมน (domain delegation)
      รูปที่ 3 แอดเดรส 71.2.108.158.in-addr.arpa ในโครงสร้างแอดเดรสผกผัน
      ความหมายของการมอบอำนาจการดูแลโดเมนคือ ผู้ดูแลโดเมนระดับบนไม่จัดการโดเมนระดับล่างโดยตรง หากแต่ให้ผู้ดูแลโดเมนระดับล่างมีสิทธิ์ขาดในการดำเนินการทุกอย่างในโดเมนระดับล่างนั้น ผู้ดูแลโดเมนย่อยอาจเพิ่มชื่อเครื่องในฐานข้อมูลหรือสร้างโดเมนย่อยได้ตามต้องการ ในโดเมนย่อยหนึ่งๆหากมีโดเมนย่อยลงไปอีกก็อาจจะใช้วิธีมอบอำนาจเพื่อลดภาระการดูแลได้ในทำนองเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้อาจเปรียบเทียบกับระบบงานในบริษัทที่ผู้จัดการฝ่ายอาจมอบหมายงานให้หัวหน้าแผนกรับผิดชอบงานเป็นส่วนๆ
      ในโดเมนหนึ่งๆจะมีการมอบอำนาจการดูแลหรือไม่นั้นเป็นนโยบายของผู้บริหารโดเมนโดยตรง บางโดเมนอาจมีการสร้างโดเมนย่อยแต่ไม่มีการมอบอำนาจใดๆเลย หรืออาจมีการมอบอำนาจเฉพาะบางโดเมนย่อยเท่านั้น วิธีสร้างและมอบอำนาจดูแลโดเมนย่อยในดีเอ็นเอสมีกรรมวิธีเทคนิคเฉพาะซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของรายงานฉบับนี้ ในที่นี้จะอธิบายเพียงหลักการมอบอำนาจซึ่งเกี่ยวพันกับความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องโดเมนและโซนที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป
โดเมนและโซน

      ความหมายของ โซน (zone) คือโดเมนย่อยในดีเอ็นเอสที่มีการมอบอำนาจหน้าที่ให้มีผู้ดูแลเฉพาะ ภายในโซนอาจแบ่งให้มีโซนย่อยออกไปอีกได้ตามคณะหรือหน่วยงาน แต่ละโซนจะมีเนมเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลประจำโซน
      เมื่อผู้ดูแลระบบได้รับมอบอำนาจจัดการโซน ผู้ดูแลระบบจะติดตั้งเนมเซิร์ฟเวอร์ประจำโซนและสร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บชื่อเครื่องกับไอพีแอดเดรสในโซนด้วยตนเอง การจัดการโดยผู้ดูแลระบบคือความหมายของการได้รับมอบอำนาจ เนมเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลในโซนใดๆจะมี อำนาจหน้าที่ (authority) ในโซนนั้น ตัวอย่างของการได้รับมอบอำนาจดูแลโดเมนระดับบนสุดมีดังเช่น .com, .net และ .org ดูแลโดยบริษัทเวริไซน์   .mil ดูแลโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ และโดเมนระดับประเทศจะดูแลโดยผู้ได้รับมอบอำนาจให้เป็นนายทะเบียนชื่อโดเมนของประเทศนั้นๆ เป็นต้น
เนมเซิร์ฟเวอร์
      ผู้ดูแลโซนจะติดตั้งมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ (master name server) และ สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์ (slave name server) ประจำโซนมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์และสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์ต้องเป็นเครื่องต่างเครื่องกัน มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์ที่อ่านข้อมูลประจำโซนจากแฟ้มข้อมูลที่เก็บในระบบข้อมูล (เช่นฮาร์ดดิสค์) โซนๆหนึ่งจะมีมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว ส่วนสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์จะสำเนาข้อมูลมาจากมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์มาเก็บไว้โดยถ่ายโอนผ่านเครือข่าย สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์มีได้หลายเครื่องเพื่อทำหน้าที่เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์สำรองเมื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถให้บริการได้ การจดทะเบียนชื่อโดเมนจึงต้องระบุชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์อย่างน้อยสองชื่อ โดยที่ชื่อแรกคือชื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ และอีกชื่อหนึ่งคือสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์

      มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์จะบรรจุข้อมูลประจำโซน ผู้ดูแลดีเอ็นเอสจะเพิ่มหรือลบชื่อโฮสต์หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์จะถ่ายโอนข้อมูลจากมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์มาโดยอัตโนมัติเพื่อให้ข้อมูลตรงกัน การถ่ายโอนนี้เรียกว่า การถ่ายโอนโซน (zone transfer)


หลักการทำงานของดีเอ็นเอส
      กระบวนการทำงานของดีเอ็นเอสประกอบด้วย รีโซลเวอร์ (resolver) ซึ่งเป็นโปรแกรมในเครื่องไคลเอ็นต์ที่ขอบริการดีเอ็นเอสที่กำหนดว่าเครื่องนั้นอยู่ในโดเมนใด และต้องติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ใด
กระบวนการเรโซลูชัน
      เนมเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้เพียงให้บริการข้อมูลในโซนที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่เท่านั้น หากแต่ต้องให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นทั่วทั้งเนมสเปซให้กับเนมเซิร์ฟเวอร์อื่นที่ขอบริการ กระบวนการสืบค้นชื่อโดยเนมเซิร์ฟเวอร์นี้เรียกว่า เนมเรโซลูชัน (name resolution) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เรโซลูชัน (resolution)
       เรโซลูชันของดีเอ็นเอสมีหลักการทำงานแบบไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ รีโซลเวอร์ทำหน้าที่เป็นไคลเอ็นต์และเนมเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ทั้งรีโซลเวอร์และเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บรักษาข้อมูลที่สืบค้นได้ไว้ในแคช เนมเซิร์ฟเวอร์จะสืบค้นข้อมูลในแคชก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หากพบก็จะใช้ข้อมูลในแคชตอบกลับไป ปกติแล้วเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บข้อมูลในแคชเพียงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงลบทิ้งไปเพราะข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
รูปที่ 4 การทำงานระหว่างรีโซลเวอร์และเนมเซิร์ฟเวอร์
 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์
   อินเทอร์เน็ตจัดให้มี รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ (root name server) เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นการหาข้อมูลในเนมสเปซ เนมเซิร์ฟเวอร์สามารถสืบค้นข้อมูลทุกจุดของเนมสเปซโดยติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ รูทเนมเซิร์ฟเวอร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถให้บริการได้แล้วกระบวนการเรโซลูชันทั้งอินเทอร์เน็ตจะหยุดชะงัก อินเทอร์เน็ตจึงจัดให้มีรูทเนมเซิร์ฟเวอร์กระจายตัวในต่างพื้นที่กันจำนวน 13 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ได้ ดังตารางที่ 4 ( a.root-servers.net ทำหน้าที่เป็นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์หลัก )
      ตารางที่ 4 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์
ชื่อ    ไอพีแอดเดรส
 a.root-servers.net     198.41.0.4
 b.root-servers.net     128.9.0.107
 c.root-servers.net     192.230.4.12
 d.root-servers.net     128.8.10.90
 e.root-servers.net     192.203.230.10
 f.root-servers.net.     192.5.5.241
 g.root-servers.net     192.112.36.4
 h.root-servers.net     128.63.2.53
 i.root-servers.net     192.36.148.17
 j.root-servers.net     192.58.128.30
 k.root-servers.net     193.0.14.129
 l.root-servers.net     198.32.64.12
 m.root-servers.net     202.12.27.33
รูปที่ 5 แสดงที่ตั้งของรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 13 เครื่อง โดยที่ 10 เครื่องกระจายตัวในอยู่ในสหรัฐอเมริกา อีก 3 เครื่องอยู่ในลอนดอน สต็อกโฮล์ม และโตเกียว รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ ทั้ง 13 เครื่องมิได้รับภาระการถามหาชื่อโดยตรงให้กับไคลเอ็นต์ทุกครั้ง หากแต่เป็นจุดทางเข้าระดับบนสุดโดยมีเนมเซิร์ฟเวอร์ระดับที่สองของผู้ให้ บริการอินเทอร์เน็ตและองค์กรต่างๆและเนมเซิร์ฟเวอร์สำรองอีกจำนวนมาก ขณะที่เนมเซิร์ฟเวอร์ระดับถัดไปคือเนมเซิร์ฟเวอร์ ccTLDs นั้นเมื่อไคลเอ็นต์ถามหาไอพีแอดเดรสจากชื่อโดเมน ไคลเอ็นต์จะติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ประจำโดเมนนั้นเพื่อสืบค้นข้อมูล หากเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถหาชื่อได้ก็จะติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ และรูทเนมเซิร์ฟเวอร์จะส่งรายชื่อของเนมเซิร์ฟเวอร์ที่มีอำนาจหน้าที่ต่อไป
  ในระยะแรกนั้นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บฐานข้อมูลของโดเมน gTLDs บางโดเมนได้แก่ .com, .net., และ .org แต่เพื่อให้ระบบชื่อโดเมนมีเสถียรภาพและสามารถขยายภาระงานได้ จึงมีการจัดตั้งเนมเซิร์ฟเวอร์อีกหนึ่งชุดภายใต้ชื่อโดเมน gtld-servers.net  และย้ายข้อมูลในหมวด .com, .net., และ .org ออกจากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์มาไว้ในเนมเซิร์ฟเวอร์ชุดใหม่ และใช้ชื่อเทียบเคียงกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์คือ a.gtld-servers.net ถึง m.gtld-servers.net  รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบันจึงดูแลเพียงฐานข้อมูลกลุ่ม ccTLDs และบางหมวดของ gTLDs ได้แก่ .edu  และบางส่วนของ in-addr.arpa  
5.บริการต่างๆในอินเทอร์เน็ต
        บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้
        1.บริการด้านการสื่อสาร
        1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)
        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (e-mail address หรือ e-mail account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(Domain name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท) เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอยู่อีเมล์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)
        ในการรับ-ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com, www.thaimail.com
        โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว (header) และส่วนข้อความ (message)

        1.2 รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)
        mailing lists เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและการส่งข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ในรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาประเภทนี้ ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่อยู่เพื่อการลงทะเบียบไปยัง subscription address ของ mailing lists ตัวอย่าง mailing list เช่น ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dailyjoke@lists.ivllage.com)
        1.3 กระดานข่าว (usenet)
        ยูสเน็ต (usenet หรือ user network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์ เป็นต้น
        การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้เข้าไปขอใช้บริการ
        เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีการตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (division of subtopic) ตัวอย่างเช่น
        1.4 การสนทนาออนไลน์(On-line chat)
        การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้
ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย
        การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า แชนแนล (channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC

        การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สนทนาได้ด้วย
        1.5 เทลเน็ต (telnet)
        เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้เป็นจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อนุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป
        2.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ
        2.1 การขนถ่ายไฟล์(file transfer protocol)
        การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP site)
        ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมฟรี
        ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการเฉพาะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก้ฒีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปได้เข้าไปใช้บริการ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหมดก็ตาม
        2.2 โกเฟอร์ (gopher)
        เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู(menu-based search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของเมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้

        2.3 อาร์ซี (archie)
        อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever ) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้นข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป
        2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)
        WAIS เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รวบรวมข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการและสามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย
        2.5 veronica
        veronica ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
        2.6 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์
        อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com, altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.ccom
6.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
1. วิธีเข้าสู่โลกของอินเตอร์เน็ต ระบบเครื่องและอุปกรณ์ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 2. อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย 3. โปรแกรมที่ใช้ในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต 4. สมัครเป็นสมาชิกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) Username Password
2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต - ติดตั้งโมเด็ม เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เดิม - มีโทรศัพท์บ้าน - สมัครเป็นสมาชิกของ ISP ปรับระบบคอมพิวเตอร์ตามข้อกำหนดของ ISP ที่เป็นสมาชิก ( ใส่ UserName, Password) ที่บ้าน
3. โมเด็ม (MODEM) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ของเรา เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้ PCMCIA MODEM External MODEM Internal MODEM สัญญาณดิจิตอล สาย RS232 โมเด็ม โมเด็ม สายโทรศัพท์ สัญญาณดิจิตอล สาย RS232 สัญญาณอะนาลอก
4. สัญญาณ Analog & Digital
5. การแปลงสัญญาณ Digital เป็น Analog การ Modulation ทางแอมปลิจูด
6. การแปลงสัญญาณ Digital เป็น Analog การ Modulation ทางความถี่
7. การแปลงสัญญาณ Digital เป็น Analog
8. วิธีเข้าสู่โลกของอินเตอร์เน็ต ISP ก็คือบริษัท หรือหน่วยงานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ISP เป็นคำย่อของ Internet Service Provider
9. คอมพิวเตอร์รู้จักกันได้อย่างไร 192.168.177.104 203.150.243.179
10. IP Address / Internet Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนอินเทอร์เน็ต ต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเรียกว่า หมายเลข IP (IP Address หรือ Internet Address)” เปรียบเสมือน บ้านเลขที่มีองค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรหมายเลข IP โดยเฉพาะ เรียกว่า - Internet Network Information Center
11. IP Address / Internet Address หมายเลข IP เป็นเลขฐานสอง มีขนาด 32 บิต (4 ไบต์ - 1 ไบต์มี 8 บิต ) เขียนเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (dot) เลขฐานสอง 11111111 . 00000000 . 11111111 .00000000 เลขฐานสิบ 255 . 0 . 255 .0
12. IP Address 129.102.16.2 129.102.16.250 129.102.16.40 129.102.16.150 129.102.16.200 129.102.16.1
13. ชื่อโฮสต์ (Host) เครื่องแม่ข่ายในเครือข่าย SchoolNet@1509 มีชื่อเรียกโฮสต์คือ www.school.net.th จะมีหมายเลข IP คือ 202.44.204.80 การแปลงจากชื่อโฮสต์ (Host) ไปเป็น หมายเลข IP เรียกว่า Forward mapping เช่นแปลงจาก www.school.net.th ให้เป็นหมายเลข IP 202.44.204.80 การแปลงจากหมายเลข IP ไปเป็นชื่อโฮสต์ เรียกว่า Reverse mapping เช่น แปลงจากหมายเลข IP 202.44.204.80 เป็น www.school.net.th Example
14. DNS - Domain Name System DNS คือ ระบบการแปลงกลับไป กลับมาระหว่างชื่อโฮสต์ ( Host ) ให้เป็นหมายเลข IP คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะมีหมายเลข IP ไม่ซ้ำกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องต่างๆ จะใช้หมายเลข IP เป็นหลัก หมายเลข IP จำยากกว่าการจำชื่อ จึงมีระบบ DNS เกิดขึ้นมา ชื่อโดเมนไม่ใช่ชื่อที่ถอดมาจากเลขไอพี
15. DNS - Domain Name System com gov th uk jp or go ac nectec nstda mentor ite isd . . . yahoo . . . edu hi5 ku . . . . . .
16. กลไกการทำงานของ DNS DNS server root 4. แจ้งว่า IP address ของ DNS server [.com] อยู่ที่ IP 192 .183.255.20 5 . แจ้งข้อมูลต่อให้ 7 . แจ้งกลับว่าอยู่ที่ IP 192 .183.255.26 6 . ส่งคำสั่ง DNS query ไปถามว่า hi5.com อยู่ที่ไหน DNS server [ .com] IP 192.183.255.20 Web server www.hi5.com IP 192.183.255.26 8. แจ้งข้อมูลคำตอบต่อให้ 1 . คำสั่ง DNS query หาค่าของ www.hi5.com 2. ส่งคำสั่ง DNS query ต่อไปที่ DNS ชั้นบน 3 . ส่งคำสั่ง DNS query ต่อไปที่ DNS ชั้นบน DNS server[.th] DNS server[.ac] เครื่องลูกข่ายใน domain www.ku.ac.th 9. ติดต่อส่งข้อมูลโดยทำ ขั้นตอนการเชื่อมโยง TCP กับ IP 192.183.255.26
17. DNS - Domain Name System โดเมนที่มีตัวอักษร 3 ตัว เรียกว่า Generic domain ส่วนมากใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา com องค์กรธุรกิจ -- commercial edu สถาบันการศึกษา -- education gov หน่วยงานราชการ -- government int องค์กรระหว่างประเทศไทย -- international mil หน่วยงาน ทหาร -- military net ผู้ให้บริการเครือข่าย -- network org องค์กรอื่นๆ -- organization
18. DNS - Domain Name System โดเมนที่มีตัวอักษร 2 ตัว เรียกว่า Country domain เป็นตัวอักษรที่ใช้แทนประเทศต่างๆ th Thailand jp Japan sg Singapore au Australia
19. World Wide Web Web page ข้อมูลข่าวสารที่แสดงเป็นหน้า ๆ เหมือนกับเอกสารบนกระดาษ อาจประกอบด้วยตัวอักษร , กราฟิก , เสียง , ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลใน รูปแบบอื่น ๆ แต่ละเว็บเพจอาจจะเป็นสื่อแบบมัลติมีเดียที่สามารถโต้ตอบ กับผู้ใช้ได้ Home page เพ็จหรือหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นหรือหน้าแรกของเว็บเพจทั้งหมด ที่จะแสดง Link ข้อความ หรือ รูปภาพ ที่ใช้เป็นจุดในการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้า อื่น ๆ หรือแม้กระทั่งเชื่อมโยงไปยังบริการอื่น ๆ ในอินเทอร์เน็ต
20. การทำงานของ World Wide Web user Web Browser Web Server URL ( Universal Resource Locator ) ตำแหน่งที่อยู่ในรูปแบบ WWW
21. ระบบแอดเดรสบน WWW ในการอ้างอิงถึงเซิร์ฟเวอร์ เว็บไซท์ เว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นใดบนอินเทอร์เน็ต จะทำ โดยใช้ Address หรือที่อยู่ของข้อมูลนั้น ซึ่งมีการกำหนดรูปแบบไว้เป็นพิเศษ เรียกว่า URL (Uniform Resource Locator) หมายถึง ชื่อนำของเว็บเพื่อบอกกับ Browser ให้รู้ว่าต้องไปที่ไหน โดยส่วนมากทุก ๆ หน้าของเวบจะต้องเริ่มด้วย http:// และตามด้วยชื่อโดเมนเนมของเว็บที่ ต้องการไป
22. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ URL http :// www . provision . co . th / book / catalog.htm ชื่อโปรโตคอลหรือวิธีการติดต่อที่ใช้กันทั่วไปในการดึงเว็บเพจ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ WWW ชื่อเน็ตเวิร์กย่อย ประเภท บริษัท ประเทศไทย ไดเร็คทอรี ชื่อและสกุลไฟล์
23. TCP/IP คืออะไร TCP/IP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol / Internet Protocol เป็นชุดของโปรโตคอล ( protocol ) ที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และ สามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ โปรโตคอล ( protocol ) คือ ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบข้อกำหนด และมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถติดต่อสื่อสารกันได้สำเร็จ
24. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของ ตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้ อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้ รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
25. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร
26. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet ) 1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์ แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ สาย ได้ ในเขตกรุงเทพ PCT Next Data Card อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย ด้วยความเร็วแบบคงที่ 32/64 Kbps
28. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) 2. 1 WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไ ร ้ สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการ พัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะ มีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
29. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 2. 2 GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูล ได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่ง ใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณ ข้อมูลที่รับ - ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้ รวดเร็วขึ้นด้วย
30. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 2. 3 โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่ง ข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูล ระบบมัลติมีเดียได้ด้วย 2. 4 เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อ ใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้ สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซ
31. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก (Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำ หน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่ เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
32. บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต 1. บริการด้านการสื่อสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับส่ง E-mail กับผู้ใช้อื่น ๆ ในเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สนทนาแบบออนไลน์ การพูดคุยตอบโต้กันในเครือข่ายได้ในเวลาเดียวกันโดยการพิมพ์ข้อความผ่านทาง Keyboard เรียกบริการแบบนี้ว่า Talk กรณีที่เป็นการคุยกัน 2 คน และเรียกว่า chart กรณีที่คุยกันเป็นกลุ่ม (Internet Relay Chat หรือ IRC) กระดานข่าว หรือ Bulletin Board System (BBS) เป็นกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ที่ทุกๆวันจะมีผู้ส่งข่าวสารผ่านเครือข่าย โดยแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มตามความสนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ , เพลง , กีฬา , วัฒนธรรม เป็นต้น FTP(File Transfer Protocol) เป็นบริการโอนย้ายไฟล์ข้อมูล หรือไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ (download) เช่นไฟล์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ , ไฟล์ข้อความ , ไฟล์รูปภาพหรือเสียง เป็นต้น
33. บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต 2. บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากใน Internet มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ เชี่ยวชาญในแขนงต่าง ๆ เก็บข้อมูลเพื่อ เผยแพร่เอาไว้มากมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการวิจัยและเตรียมข้อมูลได้มากและ เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ให้ใช้งานได้ทันที Archie Gopher WAIS(Wide Area Information Service)
34. Intranet & Extranet ระบบเครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) ก็คือระบบเครือข่ายภายในองค์กรที่ช่วยในการ ทำงานร่วมกัน (Workgroup) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร ประโยชน์ของอินทราเน็ต 1. ลดต้นทุนในการบริหารข่าวสาร 2. ช่วยให้ได้รับข่าวสารที่ใหม่ล่าสุดเสมอ 3. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างฉับไว 4. เสียค่าใช้จ่ายต่ำ
35. Intranet & Extranet ระบบเครือข่ายเอ็กทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบ เครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTRANET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็น ต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบ เครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิใน การใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป
7.การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิก
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) คือ การส่งข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเหมือนกับการส่งจดหมาย แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปลี่ยนการนำส่งจดหมายจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม และเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางจราจรคมนาคมทั่วไปมาเป็นช่องสัญญาณรูปแบบต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตรงเข้ามาสู่ Mail Box ที่ถูกจัดสรรใน Server ของผู้รับปลายทางทันที
เราใช้ E-Mail ทำอะไรกัน
……ปัจจุบันนี้ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลถึงกันสามารถทำได้อย่างง่ายดาย อินเตอร์เน็ตนับเป็นระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีผู้ใช้งานมากกว่า 25 ล้านคน ติดต่อเข้าใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อส่ง E-Mail
……E-Mail นับเป็นทางเลือกใหม่ของการติดต่อสื่อสาร ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบเครือข่าย ทำให้การส่งหรือรับ E-Mail ไม่ว่าผู้ส่งและผู้รับจะอยู่ที่ใด เป็นไปได้ในช่วงเวลาที่สั้นและรวดเร็ว สามารถส่งหรือรับข้อมูลได้ทันที และตลอดเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับค่าโทรศัพท์ที่ใช้ และค่าธรรมเนียมในการขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
……เราใช้ E-Mail เพื่อส่งข้อมูลที่สามารถจัดเก็บในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล (File) คอมพิวเตอร์ได้ทุกประเภท ไม่ว่านั่นจะเป็นเพียงข้อความจดหมายเพื่อพูดคุยธรรมดาหรือเป็นแฟ้มข้อมูลรูปภาพ รวมทั้งยังสามารถแนบแฟ้มข้อมูลเอกสาร หรือข้อมูลต่างๆได้ด้วย
ในเชิงธุรกิจ E-Mail จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังสามารถส่งจดหมายฉบับเดียวกันถึงผู้รับปลายทางได้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีการนำ E-Mail มาใช้เพื่อการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการได้อีกด้วย
มาทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีใช้งาน E-Mail กัน
……ในการใช้งาน E-Mail จำเป็นจะต้องมี E-Mail Address เสียก่อน โดย E-Mail Address จะเป็นเหมือนที่อยู่ทางอินเตอร์เน็ตของแต่ละคน มักจะแทนด้วยชื่อหรือรหัสที่ใช้แทนตัว แล้วตามด้วยชื่อของ Mail Server ที่ให้บริการ เช่น somchai@isp.co.th โดยทั่วไป E-Mail Address จะประกอบด้วย
- User ID ใช้เป็นชื่อหรือรหัสประจำตัวของผู้ใช้บริการแต่ละคน
- เครื่องหมาย @
- Domain Name ของ Mail Server ที่ใช้บริการ
เมื่อต้องการส่ง E-Mail มีส่วนประกอบสำคัญที่ต้องให้รายละเอียด คือ
1. To: ระบุ E-Mail Address ของผู้รับปลายทาง
2. Subject: ใส่หัวเรื่องย่อๆของเนื้อหา
3. CC (Carbon Copy): เป็นการระบุ E-Mail Address ของผู้ที่เราต้องการให้ได้รับสำเนาของจดหมายฉบับนี้ด้วย
4. BCC (Blind Carbon Copy): เช่นเดียวกับ CC แต่ทำให้ผู้รับไม่ทราบว่าเราต้องการ ส่งใคร
5. Attachment: เราสามารถแนบไฟล์ไปกับการส่ง E-Mail ด้วยก็ได้
6. Body: เป็นเนื้อหาข้อความของจดหมาย
8.การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตแบบเครือข่าย( Social Network )

















การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้หลายทางด้วยกัน ดังนี้
1.  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
                เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมากเพียงเท่ากับค่าโทรศัพท์เท่านั้น

2.  การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web: www.)
                เป็นการสื่อสารที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลแบบกราฟิกได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ข้อมูลต่างๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ Hypertext Link
                การที่จะเข้าไปอ่านข้อมูลเหล่านี้ได้ ผู้ใช้จะต้องมี Web Browser ซึ่งนิยมใช้กันในขณะนี้ได้แก่ Netscape Navigator และ Internet Explorer ปัจจุบันได้มีการประยุกต์กิจกรรมอื่นไว้ภายใน World Wide Web ด้วย อาทิ การโฆษณากิจกรรม รวมถึงความบันเทิงต่างๆ เช่น การดูหนังฟังเพลง และชมรายการต่างๆ ทางสถานีโทรทัศน์
เช่น    
3.  การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP)             
เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่างๆ จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP Site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้บริการ
                การเข้าไปขอถ่ายโอนข้อมูลนั้น ผู้ใช้ต้องทราบชื่อเครื่องที่ตั้งเป็น FTP Server และสิทธิที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำ FTP
4.  การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (Usenet)
                มีที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศคือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน 
5.  การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telenet)
                เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้
6.  การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat)
                เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือ สามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk ซึ่งเป็นการพิมพ์โต้ตอบระหว่างคนสองคน Internet phoneเป็นการคุยกันด้วยเสียงแบบเดียวกับโทรศัพท์ และ IRC (Internet Relay Chat)
7.  บริการส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ต
     เป็นการส่งข้อความในรูปแบบของข้อความสั้นๆ (Short Message) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์สื่อสารประเภทไร้สาย ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเพจเจอร์ เป็นต้น 
8.  Remote Login
                เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อผ่าน Telenet เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล และคอมพิวเตอร์นั้นค้นหาสารสนเทศ แหล่งบริการสารสนเทศ เช่น รายการบัตรของห้องสมุด (Online Public Access Catalog: OPAC) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดแต่ละแห่งทั่วโลกจัดทำขึ้น และเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย


9.การใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการค้นคว้าความรู้
อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก
     อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ  พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด
มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต
โปรโตคอล (Protocol) คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง
ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address) เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)

โดเมนเนม (Domain Name)
โดเมนเนม (Domain Name) เป็นระบบที่นำตัวอักษร ที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรส ที่เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือองค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ
ความหมายโดเมนเนม
โดเมนเนม
ความหมาย
Com
กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
Edu
กลุ่มการศึกษา (Education)
Gov
กลุ่มองค์กรรัฐบาล (Governmental)
Mil
กลุ่มองค์กรทหาร (Military)
Net
กลุ่มองค์การบริหาร (Network Service)
Org
กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)
ความหมายโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ
โดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ
ความหมาย
au
ออสเตรเลีย (Australia)
fr
ฝรั่งเศส (France)
th
ไทย (Thailand)
jp
ญี่ปุ่น (Japan)
uk
อังกฤษ (United Kingdom)
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) ถึงแม้ระบบโดเมนเนม จะทำให้จดจำชื่อได้ง่าย แต่การทำงานจริง ของอินเทอร์เน็ต ก็จำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรส อย่างเดิม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบ ที่จะทำการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส โดยจะต้องจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ จะถูกเรียกว่าโดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) หรือ ดีเอ็นเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server)
ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ
เป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ URL เข้าไปในช่อง Address ของเว็บเบราเซอร์โดย URL ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ
การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
          การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name  และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้
1.เครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC
2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน   โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป  ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)
      โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
      1.โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
        2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port)  เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน
3. โทรศัพท์  เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม  เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์  ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต  จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
4.ซอฟต์แวร์  ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ         1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต  ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
       2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
       3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ
ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์
1. เว็บเพจ(Web Page) คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงไปยังหน้า อื่น ๆ ได้
2. เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต และบรรจะไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ 
www.google.com
3. โฮมเพจ (Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไปชม เว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้
4. โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการเปิดเว็บเพจ และสามารถรับส่ง ไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพเสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet Explorer และ Opera
โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer
5. ภาษาHTML (Hyper TextMarkup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยสามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertextหรือเอกสาร HTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัส คำสั่ง สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าว เป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติ
พื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่ม ความสามารถ และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น
6. WYSIWYG (What-You-See-Is-What-You-Get) โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ ใช้สร้างเว็บเพจโดยการนำรูปภาพ
หรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจ จะปรากฎหน้าเอกสารของเว็บเพจ เหมือนกับขณะที่
ทำการสร้าง การใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่า การเขียนด้วยภาษา HTMLมาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนอง การ
สร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น
บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
           อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น
2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address
3. การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
4. การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำกาฃรค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น
5. การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา
6. กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
7. การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย
10.เทคนิคการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ  จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและ  ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที

การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine

การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
     วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลในIndex ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง

การค้นหาในรูปแบบ Search Engine 
     วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญการใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้นSearch Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา

**** ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine
                คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึง กันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจิงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง

ประเภทของ Search Engine
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engineอะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ

         1.  Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
          2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
           3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
         สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้

1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ
2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง
3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)
4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site
5. ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser    ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ
                                                                                                                                               
***เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล
         ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือ จำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด   ดังวิธีการต่อไปนี้
1.  เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด(อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่ามีอยู่ 2 แบบ)  ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่จะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)
3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า
4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "free shareware" เป็นต้น
5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ ตัว อักษรใหญ่แทน
6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butterหมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu
8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ 
9.หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ คุณก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น"windows 98"
10. หลีก เลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น
11. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์  
11.ข้อควรปฎิบัติสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
ข้อปฏิบัติในการใช้อินเตอร์เน็ต และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ข้อปฏิบัติและมารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ต
     อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครือข่ายย่อยจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ โดยแต่ละเครือข่ายจะมีข้อกำหนดและระเบียบในการใช้งานแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ที่เข้ามาใช้เครือข่ายจำเป็นต้องรับทราบและปฏิบัติตามแนวทางที่ผู้ดูแลเครือข่ายได้กำหนดไว้
  1.  ในการเริ่มใช้งานอินเตอร์เน็ตครั้งแรก ควรสอบถามผู้ดูแลระบบถึงข้อกำหนดและระเบียบการใช้เครือข่ายนั้นๆ และปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านั้น
  2.  ใช้งานเท่าที่จำเป็น เมื่อใช้เสร็จแล้วควรออกจากระบบทันที ไม่ควรปล่อยเครื่องให้ติดต่อกับระบบตลอดเวลาทั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพราะจะทำให้ผู้อื่นติดต่อเข้าได้ยาก
  
3.  ไม่ควรเข้าใช้อินเตอร์เน็ตในบัญชีของผู้อื่น หรือยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีของตนในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
  4.  ควรรักษารหัสผ่านของตนไว้เป็นความลับ หากมีผู้รู้รหัสผ่านควรเปลี่ยนรหัสเสียใหม่ นอกจากนี้ ในการกำหนดรหัสผ่านควรหลีกเลี่ยงการใช้รหัสที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งกับตน เพราะจะทำให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีสามารถคาดเดา และเชื่อมโยงเข้าสู่รหัสผ่าน อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับข้อมูลและกับระบบได้
  5. ในกรณีที่ต้องทำงานที่ใช้เวลามาก เช่น การโอนย้ายข้อมูล การดาวน์โหลดโปรแกรม ฯลฯ ควรเลือกทำในช่วงที่ไม่ค่อยมีผู้ใช้มากนัก
  6. ควรเปิดจดหมายอ่านเป็นประจำ และลบจดหมายที่ไม่ต้องการออก เพราะการปล่อยจดหมายทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก จะทำให้พื้นที่สำหรับเก็บจดหมายในระบบหมด อันมีผลให้ไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้
  7. พึงระลึกว่าจดหมายที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไม่ได้เป็นเรื่องลับ จึงไม่ควรส่งข้อมูลที่ต้องการให้เป็นความลับ และไม่ควรใช้ข้อความที่ก้าวร้าวหรือหยาบคาย
  8. ไม่ควรส่งจดหมายที่มีขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ หากจดหมายมีขนาดใหญ่ควรบีบอัดข้อมูลก่อนส่ง และแจ้งให้ผู้รับทราบถึงวิธีการขยายข้อมูลกลับ
  9. ไม่ควรเขียนจดหมายด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ล้วนๆ เพราะทำให้อ่านยากและตาลายได้   นอกจากนี้ยังเปรียบเสมือนการคุยกันด้วยการตะโกน ซึ่งถือว่าไม่สุภาพ ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะเมื่อต้องการเน้นข้อความเท่านั้น
  10. ระมัดระวังการใช้คำนำหน้าชื่อ เพราะบางคนถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติ หากใช้คำนำหน้าชื่อผิด โดยเฉพาะคำนำหน้าชื่อสุภาพสตรี และผู้ที่มีตำแหน่งต่างๆ
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
          จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ต (Netiquette) ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในแทบทุกด้าน รวมทั้งได้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาขึ้นในสังคม ไม่ว่าในเรื่อง ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย เสรีภาพของการพูดอ่านเขียน ความซื่อสัตย์ รวมถึงความตระหนักในเรื่องพฤติกรรมที่เราปฏิบัติต่อกันและกันในสังคมอินเทอร์เน็ต ในบทความนี้ผู้เขียนขอทบทวนเรื่อง จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “Netiquette” เพื่อให้เป็นของฝากสำหรับสมาชิกใหม่ที่เรียกกันว่า “Net Newbies” และให้เป็นของแถมเพื่อการทบทวนสำหรับนักท่องเน็ตที่เป็น ขาประจำ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน
แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา